วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คำถวายพ่อหลวง



สถิตในดวงใจตราบนิรันดร์ น้อมศิระกราน
 กราบแทบพระยุคลบาท ด้วยสำนึกในพระ  มหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
   
          ข้าพระพุทธเจ้า นางสาว ชลิตดา จันทร์เมือง

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คณะธุรกิจการบิน

    
   วามเป็นมาและจุดเด่นของสาขา




อุตสาหกรรมการบิน เป็นอุตสาหกรรมสาขาหนึ่งของกระบวนการงานด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมการบิน มีความสำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากภาวะความต้องการในการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วขึ้น การตอบสนองด้านการท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนั่นหมายถึงการติดต่อค้าขาย การเจรจา การศึกษา แรงงาน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน 10 ประเทศ จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในแง่ของชัยภูมิที่ตั้ง และประเทศไทยได้มีความคาดหวังว่า จะเป็นประเทศศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศ หรือที่เรียกว่า ฮับการขนส่งทางอากาศ ของอาเซียน เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2558 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า


วัตถุประสงค์

1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านธุรกิจการบิน โดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจการบิน และอุตสาหกรรมการบริการอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้
3. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นผู้นำ มีความใฝ่รู้ สามารถใช้ความรู้ด้านภาษาในการพูด และเขียน รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี




แนวทางการประกอบอาชีพ

เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในสายการบริหารจัดการด้านธุรกิจการบิน
และอุตสาหกรรมการบริการ เช่น 
- พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบิน (แอร์โฮสเตส และสจ๊วต)
- เจ้าหน้าที่บริการและต้อนรับภาคพื้น
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ (Air Cargo)
- เจ้าหน้าที่ในองค์การและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน เช่น การท่าอากาศ ยานแห่งประเทศไทย
  กรมศุลกากรกรมการบินพลเรือน สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
- เจ้าหน้าที่แผนกสำรองที่นั่งและจัดจำหน่ายบัตรโดยสารของบริษัท ตัวแทนการท่องเที่ยว
  ตัวแทนส่งเสริมการตลาดสายการบิน ชิปปิ้งสายการบิน
- ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นอาจารย์สถาบันการศึกษา วิทยากรบรรยาย ฯลฯ


องค์กรที่รับนักศึกษา AVI เข้าฝึกงาน

  1. THAI GROUND SERVICES (TGGS)
  2. PAN THAI AIR
  3. LOXLEY
  4. BANGKOK AIRWAYS
  5. BANGKOK AIR CATERING
  6. NOK AIR
  7. BANGKOK FLIGHT SERVICES
  8. AIR ASIA
  9. JAPAN AIRLINES
  10. THE AIRPORTS OF THAILAND
  11. AEROTHAI


คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา
3. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันกระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
4. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือติดยาเสพติด
5. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน จำนวน 3 หน่วยกิต ประกอบด้วย วิชาปรับพื้นฐาน
    1) วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับธุรกิจการบิน 3 หน่วยกิต
    2) วิชาว่ายน้ำและพลศึกษา ไม่นับหน่วยกิต
ข. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 31 หน่วยกิต ประกอบด้วย
   1) กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 13 หน่วยกิต
   2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
   3) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
   4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 102 หน่วยกิต ประกอบด้วย
   1) กลุ่มวิชาแกน จำนวน 24 หน่วยกิต
   2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 66 หน่วยกิต
   3) กลุ่มวิชาเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต
         ง. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต